Monty Python and the Holy Grail (1975)

Longtruk Film #7 : บทความโดย Prague Doctor

Monty Python and the Holy Grail ภาพยนตร์ตลกล้อเลียนของคณะตลกชาวอังกฤษ Monty Python
and the Holy Grail ได้รับการชื่นชมและพูดถึงอยู่เสมอเวลาที่กล่าวถึงหนังล้อเลียน ทำไมหนังเรื่องนี้จึงถูกยกย่อง
ทั้ง ๆที่ล้อเลียนทั้ง กษัตริย์และศาสนา หรือเป็นเพราะฝรั่งตานํ้าข้าวไม่มีวัฒนธรรมอันดีงามอย่างสังคมไทยที่มีการจับกุม
คุมขัง จนไปถึงสาปแช่งประณามเมื่อใดก็ตามที่มีใครก็ตามล้อเลียนผู้มีอำนาจและสถาบันสูงสุดอันเป็นที่รัก บทความนี้จะพยายามที่จะถอดรูทในทุกแง่มุมของการล้อเลียน เพื่อสร้างความเข้าใจที่มากขึ้นให้กับสังคมไทย

ทีนี้เราลองมาแยกส่วนของผลงานภาพยนตร์เรื่องนี้กันทีละส่วนดู โดยเริ่มจาก ความหมายของคำว่า ‘ล้อเลียน (parody)
ในเชิงความหมาย งานล้อเลียนหรืออาจจะเรียกว่า การสวมรอย เป็นงานสร้างสรรค์ที่เลียนแบบเพื่อแสดงความคิด
เห็นและ / หรือสร้างความสนุกสนาน การล้อเลียนสามารถล้อบุคคลทั้งในชีวิตจริงและในจินตนาการก็ได้ เหตุการณ์
หรือความเคลื่อนไหวก็ได้

เราลองมาดูนิยามของคำว่าล้อเลียนจากผู้เชี่ยวชาญกันบ้าง

  • Simon Dentith ให้คำจำกัดความว่าล้อเลียนว่า การปฏิบัติทางวัฒนธรรมใด ๆ ที่เลียนแบบการผลิตหรือ การปฏิบัติทางวัฒนธรรมอื่นที่ค่อนข้างตรงข้ามหรือขัดแย้งกัน (ใช้คำยากสมกับเป็นนักวิชาการ)
  • John Gross ตั้งข้อสังเกตว่าการล้อเลียน คือการจัดสรรใหม่ด้วยเอกลักษณ์ของศิลปินคนอื่นโดยไม่มีเจตนา เสียดสี ส่วนการเยาะเย้ย คือการหลอกล่อด้วยองค์ประกอบชั้น สูงของงานวรรณกรรมแต่ปรับลดทอนความสูงส่งลงสู่ความต่ำ
  • Denis Diderot ได้แยกแยะระหว่างการล้อเลียนและการเยาะเย้ยว่า การล้อเลียนที่ดีคือสร้างความสนุกสนาน สามารถสร้างความขบขันจนนำไปสู่การสั่งสอนขัดเกลาจิตใจที่สมเหตุสมผล ส่วนการเยาะเย้ยเป็นงานตลกที่น่าสังเวช ซึ่งเพียงแค่ทำให้ผู้รับสารพอใจเท่านั้น

หลังจากเรารู้ความหมายของคำว่าล้อเลียนแล้ว มันยังมีประวัติความเป็นมาของคำๆนี้ด้วยเช่นกัน ลองมาศึกษากันดู
Parody อ้างอิงจาก Poetics ของ Aristotle ที่บันทึกไว้ว่า Hegemon of Thasos เป็นผู้ประดิษฐ์การล้อ
เลียนขึ้นโดยการปรับเปลี่ยนถ้อยคำในบทกวีที่รู้จักกันดีเล็กน้อย เปลี่ยนถ้อยคำที่สูงส่งให้กลายเป็นเรื่องไร้สาระ อย่างในวรรณคดีกรีกโบราณเรื่องล้อเลียนเป็นบทกวีที่เลียนแบบรูปแบบและฉั นทลักษณ์ของมหากาพย์ แต่เปลี่ยนให้เสียดสี
หรือเยาะเย้ยเหล่าวีรชน

ที่มาของคำ มาจาก para ที่เเปลว่า ตอบโต้, ต่อต้าน และ oide ที่แปลว่า เพลง ดังนั้น parodia จึงแปลว่า เพลง
โต้ (บ้านเราคงเรียกเพลงแปลง) ในพจนานุกรมภาษาอังกฤษออกซ์ฟอร์ดให้คำจำกัดความของการล้อเลียนว่าเป็นการเลียนแบบเพื่อสร้างผลลัพธ์ที่น่า
ขัน

ใน Greek Old Comedy (วรรณกรรมกรีกโบราณแบบล้อเลียน) แม้แต่เทพเจ้าก็สามารถสร้างความสนุกสนาน
ขบขันได้ เช่น ในเรื่อง The Frogs แสดงให้เห็นถึงเฮอร์คิวลีสในภาพคนตะกละและไดโอนีซุสว่าเป็นคนขี้ขลาดและโง่
การเดินทางไป Underworld แบบดั้งเดิมถูกล้อเลียนเมื่อไดโอนีซุสแต่งตัวเป็นเฮอร์คิวลีสไปยังยมโลกเพื่อพยายามนำ
กวีกลับมาช่วยเอเธนส์


ในคริสตศตวรรษที่ 2 Lucian of Samosata ได้สร้างเรื่องราวล้อเลียน Indica and The Odyssey เขา
อธิบายถึงผู้เขียนเรื่องดังกล่าวว่าเป็นคนโกหกที่ไม่เคยเดินทาง ในหนังสือชื่อเรื่อง True History Lucian ได้นำ
เสนอเรื่องราวที่เกินจริงและคำกล่าวอ้างที่ไม่น่าจะเป็นไปได้ อาจจะพูดได้ว่าเป็นนิยายวิทยาศาสตร์เรื่องแรกที่ตัวละคร
เดินทางไปยังดวงจันทร์เข้าร่วมในสงครามระหว่างดวงดาวด้วยความช่วยเหลือของมนุษย์ต่างดาวที่พวกเขาพบที่นั่น นี่
คือการล้อเลียนเรื่องยักษ์ตาเดียวของโฮเมอร์และอื่น ๆ

ในศตวรรษที่ 20 การล้อเลียนได้รับการยกย่องให้เป็นเครื่องมือทางศิลปะ เป็นตัวแทนของการสร้างสรรค์และ
นวัตกรรมทางศิลปะ สำหรับ Russian formalist การล้อเลียนเป็นวิธีการปลดปล่อยจากข้อจำกัดเดิม ๆ ที่ช่วยให้
สามารถสร้างรูปแบบศิลปะใหม่ ๆ ที่เป็นอิสระได้

นักประวัติศาสตร์ Christopher Rea เขียนว่า ในช่วงทศวรรษที่ 1910 และ 1920 นั กเขียนในจีนที่ล้อเลียนทุก
อย่าง พวกเขาล้อเลียนสุนทรพจน์, โฆษณา, คำสารภาพ, คำร้อง, คำสั่ง, ใบปลิว, ประกาศนโยบาย, พระสูตร,
พงศาวดารและรายงานการประชุม

เราอาจจะพอแยกแยะประเภทของการล้อเลียนได้เป็นสองแนวทางหรือสองลักษณะ คือ Old Parody มีเป้าหมายคือการสร้างความขบขันหรือต่อต้านต้นแบบโดยตรง และ Recontextualizing Parody คือ การล้อเลียนโดยปรับเปลี่ยนบริบทใหม่ โดยไม่ได้มีเป้าหมายที่จะล้อเลียนต้นแบบโดยตรง แต่ต้องการที่จะต่อต้านการกดขี่หรือครอบงำที่อาจจะต่อต้านแบบตรงไปตรงมาไม่ได้ ตัวอย่างที่สำคัญของการล้อเลียนที่สร้างบริบทใหม่ (Recontextualizing Parody) นี้ ได้แก่ Ulysses ของ James Joyce ซึ่งรวมเอาองค์ประกอบของ Odyssey ของ Homer ในบริบทของชาวไอริชในศตวรรษที่ 20 ผลงานของ Andy Warhol เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่โดดเด่นของการล้อเลียนแบบ การปรับเปลี่ยนบริบทใหม่
(Recontextualizing Parody)

ภาพยนตร์ล้อเลียน (เริ่มจะเข้าเรื่องกันซะที!)


นักทฤษฎีภาพยนตร์มองว่าการล้อเลียนเป็นการพัฒนาตามธรรมชาติในวงจรของภาพยนตร์ นักทฤษฎีตั้งข้อสังเกต
ว่าภาพยนตร์ตะวันตกหลังยุคคลาสสิกได้เข้าสู่เวทีแห่งการล้อเลียน เนื่องจากผู้ชมที่เคยชมภาพยนตร์ตะวันตกคลาสสิกเหล่านี้มาแล้วพวกเขาจึงมีความคาดหวังใหม่ ๆ และเมื่อความคาดหวังเหล่านี้ถูกทำให้กลับหัวผู้ชมจึงมีเสียงหัวเราะ
บางทีภาพยนตร์ล้อเลียนที่เก่าแก่ที่สุดอาจเป็นภาพยนตร์เรื่อง Mud and Sand

  • ในปี 1922 ของ Stan Laurel ที่สร้างความขบขันให้กับภาพยนตร์เรื่อง Blood and Sand ของ Rudolph Valentino
  • ในช่วงกลางทศวรรษที่ 1920 Stan Laurel เขียนและแสดงในหลาย ๆ เรื่อง บางเรื่องเป็นภาพยนตร์ยอดนิยมเช่น Dr. Jekyll and Mr.Hyde ที่ล้อเลียนการ์ตูนเรื่อง Dr. Pyckle and Mr. Pryde (1926)
  • ในปี 1940 ชาร์ลี แชปลินได้สร้างภาพยนตร์
    ตลกเสียดสีอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ด้วยภาพยนตร์เรื่อง The Great Dictator ตามแบบภาพยนตร์ล้อเลียนเรื่องนาซีเรื่อง
    แรกของฮอลลีวูดเรื่อง Three Stooges You Nazty Spy!

20 ปีต่อมา Mel Brooks เริ่มอาชีพของเขาด้วยการล้อเลียนฮิตเลอร์เช่นกัน หลังจากภาพยนตร์เรื่อง The Producers

ในปี 1967 ได้รับรางวัลออสการ์และรางวัลสมาคมนั กเขียนแห่งอเมริกาสาขาบทภาพยนตร์ดัง้ เดิมยอดเยี่ยม Mel Brooks กลายเป็นหนึ่งในนักล้อเลียนภาพยนตร์ที่มีชื่อเสียงที่สุด Blazing Saddles (1974) ล้อเลียนหนังตะวันตก (style คาวบอย), History of the World I (1981) ล้อเลียนประวัติศาสตร์สำคัญๆจองโลก, Robin Hood Men in Tights (1993) ก็สวมรอยวีรบุรุษตำนานอย่าง Robin Hood หรือหนั งล้อเลียนประเภทสยองขวัญไซไฟและการผจญภัย ได้แก่ Young Frankenstein (1974), Spaceballs (1987, ล้อเลียน Star War) และ Barnyard (2006, ล้อเลียน Animal Farm)

ก่อนจะไปต่อที่ตัวหนังที่เป็นต้นเรื่องของเรา ขอนอกเรื่องอีกหน่อย เพราะตัวต้นแบบที่ถูกนำมาล้อเลียนนั้น ถูกเล่า
ขานกันในโลกตะวันตกซึ่งคนไทยอาจจะไม่คุ้นเคย จึงมีความจำเป็นที่จะต้องเล่าเรื่องย่อของตำนานนี้สักเล็กน้อยก่อน

King Arthur and the Holy Grail
จอกศักดิ์สิทธิ์คืออะไร? ตามตำนานมันเป็นถ้วยที่พระเยซูคริสต์ใช้ดื่มใน Last Supper คืนก่อนวันที่พระเยซูจะ
ถูกจับและสังหาร เป็น Last Supper แบบเดียวกับภาพวาดโดย Leonardo da Vinci และได้กลายเป็นหนึ่งในภาพ
วาดที่ได้รับการพูดถึงมากที่สุดในโลก

ตามตำนานถ้วยเดียวกันนี้ถูกใช้เพื่อรองรับเลือดของพระเยซูในขณะที่เขาถูกแขวนอยู่บนไม้กางเขน ในวันรุ่งขึ้นหลังจากการสิ้นพระชนม์ของพระเยซู โจเซฟแห่งอาริมาเทียได้นำจอกศักดิ์สิทธิ์ไปยังเกาะอังกฤษซึ่งมันได้สูญหายไป ตำนานเริ่มต้นด้วยกษัตริย์อาเธอร์และอัศวินของเขานั่งรวมกันที่โต๊ะกลมในคาเมลอท จู่ๆก็เสียงฟ้าสะเทือน พร้อมแสงที่สว่างจ้า ภาพของจอกก็ปรากฏขึ้น หลังจากที่ทุกอย่างสงบลง เหล่าอัศวินก็พร้อมที่จะเริ่มภารกิจเพื่อตามหาจอกศักดิ์สิทธิ์ กษัตริย์อาเธอร์ไม่เห็นด้วยกับภารกิจนี้โดยรู้ว่าพวกเขาทั้งหมดจะไม่ได้พบกันอีกในโลกนี้ อย่างไรก็ตามภารกิจที่เต็มไปด้วยอันตรายเป็นสิ่งที่อัศวินพึงจะต้องทำ ดังนั้นคิงอาเธอร์จึงหมดหนทางที่จะห้ามปราม

อัศวินโต๊ะกลมต่างแยกย้ายกันไปค้นหาจอก หนึ่งในการผจญภัยของอัศวินคือการเอาชนะอัศวินชั่วร้ายเจ็ดคน เจ้าของปราสาทที่เต็มไปด้วยผู้หญิงที่ถูกจับมาขังไว้ อัศวินทัง้ เจ็ดนี้เป็นตัวแทนของ บาปในความเชื่อของคริสต์ศาสนาเจ็ดประการ คือ ความโกรธ ความเกียจคร้าน ความตะกละ ความโลภ ความบ้าตัณหา ความเย่อหยิ่งและความหึงหวง

เซอร์แลนสล็อตเห็นจอกศักดิ์สิทธิ์ในสภาพกึ่งหลับกึ่งตื่น เขาพยายามจะหยิบจอก แต่ทำไม่ได้ ความล้มเหลวของ
เขานั้นตัวเขาตระหนักดีว่าเป็นเพราะหัวใจของตนเองไม่บริสุทธิ์ หลังจากนั้น Lancelot สารภาพกับผู้วิเศษว่าเขามีใจ
ต่อ Guinevere ราชินีของ กษัตริย์ Arthur


เซอร์เพอร์ซิวัลที่หลงทางได้รับการช่วยเหลือจากหญิงสาวสวย เขาหลงรักเธออย่างบ้าคลั่ง แต่ก่อนที่เขาจะสนอง
ความปรารถนาของตนเอง เขาก็เหลือบไปเห็นสัญลักษณ์ศักดิ์สิทธิ์ที่ติดอยู่ที่ดาบ เขารู้สึกตัวทันที ส่วนหญิงสาวก็กลาย
เป็นควันสีดำซึ่งแท้จริงแล้วหญิงสาวเป็นปีศาจจำแลงมา


เมื่อเหล่าอัศวินได้พบกับราชาฟิชเชอร์ ผู้ซึ่งรักษาจอกศักดิ์สิทธิ์ไว้ ลูกชายของฟิชเชอร์ได้มอบดาบหักโบราณของโจ
เซฟแห่งอริมาเทียให้พวกเขา ในที่สุดพวกเขาสามารถต่อชิ้นส่วนเข้าด้วยกันและดาบก็ลอยขึ้นไปในอากาศ จากน้ัน
สุรเสียงของพระเยซูคริสต์บอกพวกเขาว่าพวกเขาต้องไปยังดินแดนศักดิ์สิทธิ์ที่เรียกว่าซาร์ราเพื่อคืนจอกศักดิ์สิทธิ์ไปยัง
ที่ที่มันจากมา


ทีนี้มาถึงหนังของเรากันอีกครั้งหลังจากนอกเรื่องไปยาวเหยียด


Monty Python and the Holy Grail เป็นภาพยนตร์ล้อเลียนของอังกฤษในปี 1975 ที่เล่าเรื่องราวของ
กษัตริย์อาเธอร์ ที่เขียนบทและแสดงโดยกลุ่มตลก Monty Python (Chapman, Cleese, Gilliam, Idle,
Jones และ Palin) กำกับโดย Gilliam และ Jones เป็นหนึ่งในซีรี่ส์ของสถานีโทรทัศน์ BBC : Monty
Python’s Flying Circus

Monty Python and the Holy Grail ทำรายได้มากกว่าภาพยนตร์อังกฤษเรื่องอื่น ๆ ที่เข้าฉายในสหรัฐอเมริกาในปี 1975 ในสหรัฐอเมริกาได้รับเลือกให้เป็นภาพยนตร์ตลกที่ดีที่สุดเป็นอันดับสองตลอดกาล ใน ABC Special Best in Film: The Greatest Movies of Our Time ในสหราชอาณาจักรผู้อ่านนิตยสาร Total Film ในปี 2000 จัดอันดับให้เป็นภาพยนตร์ตลกที่ยิ่งใหญ่ที่สุดเป็นอันดับห้าตลอดกาล

มามาเริ่มดูหนังกันได้เสียที


เริ่มไตเติ้ลหนังขึ้นมา ถ้าคุณดูหนังเรื่องนี้ผ่าน Netflix คุณจะต้องทำเหมือนผม นั่นก็คือพยามเปลี่ยนซับไตเติ้ล เพราะที่เห็นมันเป็นซับไตเติ้ลภาษาสวีเดน!! ซักพักก็ขึ้นข้อความบนหน้าจอว่าขออภัยและได้ไล่คนทำซับไตเติ้ลออกแล้ว แต่มันก็ยังขึ้นซับภาษาสวีเดนอยู่อีก!!! ข้อความขออภัยก็ขึ้นมาอีกรอบแต่ได้ไล่คนที่ไล่คนทำซับไตเติ้ลออกแล้ว นี่
แค่เริ่มก็ป่วนคนดูเข้าให้แล้ว

กษัตริย์อาเธอร์พร้อมด้วยอัศวินฝึกหัดที่ใช้กะลามะพร้าวเคาะกันแทนเสียงควบม้าได้เดินทางทั่วอังกฤษเพื่อค้นหา
คนที่จะเข้าร่วมอัศวินโต๊ะกลม ระหว่างทางอาเธอร์ต้องถกเถียงกับทหารยามบนกำแพงว่านกนางแอ่นสามารถบรรทุก
มะพร้าวได้หรือไม่ เมื่อเดินทางต่อก็วิวาทะกับชาวนาเรื่องความชอบธรรมในการขึ้นเป็นกษัตริย์ของอาเธอร์ว่าเป็น
กษัตริย์ได้อย่างไรในเมื่อประชาชนไม่ได้เลือกมา ต่อมา กษัตริย์อาเธอร์ต้องการเอาชนะอัศวินดำที่สะกดคำว่ายอมแพ้ไม่เป็น กษัตริย์อาเธอร์ได้พบกับอัศวินที่เขาตามหา ซึ่งก็คือ Sir Bedevere ผู้ชาญฉลาด(รึเปล่า), Sir Lancelot ผู้กล้าหาญ,
Sir Galahad ผู้บริสุทธิ์ และ Sir Robin ผู้ไม่กล้าเหมือน Sir Lancelot เลย อาเธอร์นำอัศวินไปที่คาเมล็อต แต่ก็เปลี่ยนใจคิดว่ามันเป็นสถานที่ไร้สาระ พระเจ้าได้ปรากฏตัวขึ้นและสั่งให้อาเธอร์ตามหาจอกศักดิ์สิทธิ์

อาเธอร์และอัศวินของเขามาถึงปราสาทที่ทหารฝรั่งเศสยึดครองแต่ถูกขับไล่ออกมาด้วยวัวเป็น ๆ ทั้งตัวและกระต่าย
ไม้? อาเธอร์ตัดสินใจว่าควรแยกทางกันเพื่อค้นหาจอก ฉากถัดมานักประวัติศาสตร์ในชุดเสื้อผ้ายุคปัจจุบันที่ดูเหมือน
กำลังถ่ายทำสารคดีเกี่ยวกับตำนานของกษัตริย์อาเธอร์ถูกฆ่าโดยอัศวินบนหลังม้า (ป่วนคนดูอีกแล้ว)


การผจญภัยที่พิลึกพิลั่น อัศวินประหลาดที่ชอบพูดคำว่า นิ (คงไม่ใช่คนใต้บ้านเรา) Sir Robin ผู้ไม่มีความกล้า
แอบหนีการสู้กับอัศวินสามหัว Sir Lancelot ที่บุกไปฆ่าคนในปราสาทแบบงง ๆ Sir Galahad ที่เกือบจะได้เสีย
ความบริสุทธิ์อยู่แล้วเชียว ผู้วิเศษที่ดูจะสนุกกับการจุดไฟเสียเหลือเกิน และมุข ปราสาท arrrrrrrrrrrr (อันนี้ต้องลองดู
เอง) ไหนจะปีศาจร้ายในแบบอนิเมชั่นที่เกือบฆ่ากษัตริย์อาเธอร์กับเหล่าอัศวินโต๊ะกลมได้ถ้าคนเขียนอนิเมชั่นไม่หัวใจ
วายตายไปซะก่อน อีกมุขตลกที่ควรรับชมคือมุข สามคำถาม (หาดูเองนะ)

ในฉากไคลแมกซ์ของเรื่อง ที่แทบจะกระตุกอารมณ์ของผู้ชมด้วยฉากสงครามที่สุดจะอลังการที่สุดในหนังเรื่องนี้
และดูจะจริงจังมากที่สุดด้วย แต่กลับโดนกระชากและตัดจบแบบสร้างความงวยงงให้กับคนดู และหลายคนอาจจะคิดใน
ใจแบบผมว่า จบแล้วรึ

จากที่เขียนมายืดยาว ชักแม่นํ้าทั้งแปด (เกินห้าเพราะคิดว่าเขียนยาวกว่าปกติ) คงทำให้พอจะเข้าใจศิลปะของการ
ล้อเลียน เข้าใจถึงที่มาที่ไปและความสำคัญของการล้อเลียน รวมไปถึงแยกแยะการล้อเลียนกับการเยาะเย้ยออกจากกัน
ได้ ถ้าจะให้แจกแจงอีกครั้งแบบชัด ๆ ย่อเป็นข้อ ๆ ก็จะได้ดังนี้

  1. การล้อเลียนคือการสร้างสรรค์เพื่อความสนุกสนาน
  2. การล้อเลียนคือการตอบโต้เรื่องเล่ากระแสหลักที่ครอบงำสังคมอยู่
  3. การล้อเลียนนั้นสามารถทำได้แม้กับเทพหรือพระศาสดา
  4. การล้อเลียนได้รับการยกย่องว่าเป็นผลงานศิลปะรูปแบบหนึ่ง
  5. การล้อเลียนเป็นวิธีที่ช่วยให้สามารถสร้างรูปแบบศิลปะใหม่ ๆ และเป็นอิสระได้
  6. การล้อเลียนแตกต่างจากการเยาะเย้ยถากถาง

ทั้งหมดของบทความนี้นั้นมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้อ่านและหวังอย่างยิ่ง (ซึ่งคงเป็นไปได้ยาก) ให้ผู้มีอำนาจในบ้าน
เมืองนี้เปิดใจให้กว้างยอมรับการล้อเล่นที่นำไปสู่การวิพากษ์ วิจารณ์ โดยผ่านตัวกลางคือภาพยนตร์ตลกล้อเลียนระดับ
ตำนานที่นำเรื่องราวของกษัตริย์และศาสนามายั่วล้อ ซึ่งไม่ได้มีการทำให้ภาพลักษณ์ของสิ่งเหล่านั้นไปในทางลบเลย
ตรงกันข้ามกลับทำให้สถาบันชั้นสูงเหล่านั้นดูเข้าถึงหมู่มวลมหาประชาชนทุกหมู่เหล่าได้อย่างแท้จริง ทั้งหมดนี้ก็เพื่อ
การสร้างสรรค์ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงไปสู่สิ่งที่ดีขึ้นและเป็นที่ยอมรับของคนทุกกลุ่มอย่างที่อารยะประเทศเขาเป็นกัน และหวังเหลือเกินว่าสักวันหนึ่งเมล็ดพันธุ์แห่งการสร้างสรรค์จะเกิดขึ้นได้บนประเทศนี้จริง ๆ เสียที เพราะการสร้างสรรค์จะเกิดขึ้นได้ต้องไม่มีกฎเกณฑ์ที่กดทับ หรือมีอำนาจที่ครอบงำกดขี่จนเกิดความกลัว กลายเป็นการเซ็นเซอร์ตัวเองโดยรู้ตัวและโดยไม่รู้ตัวของคนในสังคม

Leave a Comment