Søren Kierkegaard

LONGTRUK: Openlab #13

บทความโดย Yotsunthon

Concept of anxiety’ ว่าด้วยแนวคิดเรื่องความวิตกกังวลหรือแนวคิดของความหวาดกลัว สำหรับ เซอเรน เคียร์เคอร์กอ (Søren Kierkegaard) แล้วความวิตกกังวล / ความกลัว / ความโกรธ คือ ความกลัวที่เราต่างไม่ได้ตั้งใจจะจับจ้อง  Kierkegaard ยกตัวอย่างของชายคนหนึ่งที่ยืนอยู่บนขอบตึกสูงหรือหน้าผาลึก เมื่อชายคนนั้นมองข้ามขอบเขาก็สัมผัสได้ถึงความกลัวที่จะล้มลงไป แต่ในขณะเดียวกันชายคนนั้นก็รู้สึกถึงแรงกระตุ้นอันน่ากลัวที่จะโยนตัวเองออกจากขอบเขาโดยเจตนา เหมือนกับว่าเขาต้องการเดินข้ามเส้นสะพานที่เชื่อมไปสู่ความตายด้วยตัวเอง ประสบการณ์ที่เจอะเจอเพียงชั่วเสี้ยววินาทีนั้นจึงเป็นความวิตกกังวลหรือน่ากลัว เนื่องจากเรามีอิสระอย่างเต็มที่ในการเลือกหรือตัดสินใจที่จะทิ้งตัวเองหรืออยู่ต่อไป สิ่งเหล่านี้เกิดจาก การกระทำ (Action) , การตัดสินใจ (Decision) และตัวเลือก (Choice) เรามีอิสระที่จะเลือกทำบางสิ่ง โดยบางครั้งมันอาจมีความเป็นไปได้ที่น่ากลัว หรือขยับเข้าใกล้กับเส้นคั่นอันบางเบาระหว่างเป็นกับความตาย ยกตัวอย่างขึ้นมาอีกซักอันหนึ่งเพื่อภาพจินตนาที่คมชัดขึ้น เกมรัสเซียนรูเล็ต (Russian roulette) อันเลื่องลือถึงการพนันที่คาบเกี่ยวระหว่างความเป็นความตายจากปลายกระบอกปืน มันอันตรายและหากพลั้งพลาดนั่นหมายความถึงการแลกมาด้วยชีวิต แต่ทำไมหลายคนจึงเลือกกระโจนตัวลงไปในความเสี่ยงนั้นอย่างรู้อยู่เต็มอก เช่นเดียวกับ ฌ็อง ปอล ซาทร์ (Jean Paul Sartre) เสนอไว้ว่า “มนุษย์ถูกสาปให้เป็นอิสระ” จึงมาพร้อมกับภาระในการเลือกที่เป็นคำสาปตรึงติดมนุษย์ไว้ตลอดเวลา

Historical life และ การก่อตัวโดดเด่นขึ้นมาของสภาวะบางอย่าง (finite) อาทิ ความเป็นนักศึกษาที่ปรากฏขึ้นมาเป็นครั้งคราว และยังมีสภาวะอื่นๆอีกมากมายที่รอปรากฏ (infinite) สภาวะที่ปรากฏในเงื่อนไขทางประวัติศาสตร์ สภาวะแฝงอีกมากมายที่ถูกลดทอน ด้วยเงื่อนไขที่ทำให้แสดงออกมาจำเป็นต้องอิงกับสิ่งที่ไม่ได้แสดงออกด้วย การดำรงอยู่ (existence) มีเงื่อนไขในการที่จะแสดงแต่ภาพตัวแทน(represent) ของพระเจ้า (god) ที่เป็นทุกอย่างในเวลาเดียว (omnipresent) การมีอยู่ของเรานั้นคือการสุ่มหาความเป็นไปได้ (random) และเราจะควบคุมตัวเองได้ก็ต่อเมื่อ เราจดจำทุกอย่างในอดีตได้ เช่น เราสามารถจำแนกตัวเองว่าเคยทำบางอย่างไว้ในอดีต แต่บางสิ่งก็กลับจำไม่ได้ ทั้งที่มันก็เกิดขึ้นจริงๆ 

ด้วยเหตุนี้ การเป็นตัวของตัวเอง (Being the self) จึงการกลายไปเป็นสิ่งที่ไม่ได้เป็น เพื่อที่จะเป็นตนเอง และเป็นตนเองที่มีอยู่เพียงครั้งเดียวในประวัติศาสตร์ ผ่าน action ที่ทั้งถูกยอมรับ และถูกปฏิเสธในเวลาเดียวกัน ฉะนั้น ความเป็นเราไม่สามารถถูกยืนยันด้วยตัวมันเองได้ อดีตจะเป็นอดีตได้ก็ต่อเมื่อมีการยืนยันจากอนาคต ซึ่งมันเป็นการขัดแย้งระหว่างกัน ของ สภาวะที่ไม่สามารถตัดสินใจอะไรบางอย่างได้ (possibility/mortal) กับสภาวะที่จะเข้ามาช่วยคลายกระจ่างความย้อนแย้งในบางขณะ  (form/ideal/Immortal) เราสร้าง และเลือกจากสิ่งที่มีอยู่แล้ว ซึ่งมันอาจขัดแย้งกับสิ่งที่คุณอยากให้เป็น เราเลยมักเห็นการทำงานศิลปะในลักษณะของการค้นหาอนาคตกับการทำงานศิลปะที่ต้องมีแนวคิดของแบบบางอย่างตลอดเวลา 

สิ่งที่เราเลือกไม่เคยเป็นสิ่งที่ดีที่สุด แม้เราจะเคยคิดว่ามันดีที่สุดแล้วก็ตาม สิ่งนี้มีลักษณะย้อนแย้งในตัวมันเอง ถ้ามองในมุมมองของความเป็นอนันต์ สิ่งที่เราเจอมาทั้งชีวิตอาจเป็นเพียงเศษเสี้ยวหรือซับเซตที่เล็กมากๆ หรืออาจกลายเป็นว่าเป็นสิ่งไร้ความหมายไปโดยทันที แต่ด้วยลักษณะของมนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความทะเยอทะยาน (ambition creator) ที่จะแสดงออกถึงการกระทำบางอย่างออกมาเพื่อต้องการพิสูจน์ หรือการดันเพดานหรือข้อจำกัดให้มากที่สุดเท่าที่จะสามารถทำได้ นั่นคือ ความพยายามเข้าถึงสิ่งสูงสุดทั้งๆที่ตนเองไม่สามารถเข้าไปถึงจริงๆได้ (immortal / eternity / infinite) มนุษย์เป็นเพียง mortal ที่พยายามเข้าหา ความเป็นนิรันดร์ตลอดเวลา และมันสะท้อนให้เห็นถึงสิ่งที่มนุษย์ไม่สามารถเอาชนะได้นั่นคือ ความตาย

ความตาย (Death) นำไปสู่ การไม่ปรากฏ หรือ non-existence ซึ่งมันไปขัดกับการกลายเป็น (becoming) ในลักษณะของการมีชีวิตอยู่ มนุษย์นั้นมีชีวิตอยู่ด้วยการกลายไปเป็นบางสิ่งบางอย่างทุกขณะ จึงเกิดเป็นคำถามหนึ่งที่เราอาจจะเคยถามตัวเองกันว่าเราจะมีชีวิตไปเพื่ออะไร ในเมื่อทุกอย่างที่เราทำไป มันเกิดความย้อนแย้งโดยตัวมันเอง มันสับสนโกลาหล และพลิกกลับไปกลับมา (paradox) อยู่ตลอดเวลาและทุกๆการ กระทำของเรามันจะเพิ่มความย้อนแย้งร่วมสมัย มนุษย์สามารถจินตนาการได้อย่างเดียวถึงความเป็นอนันต์ซึ่งเกิดขึ้นได้แค่เพียงในความคิด และสิ่งที่เราจินตนาการมันเต็มไปด้วยเงื่อนไขที่จำกัด ยิ่งเรามีชีวิตอยู่นานในสังคมเท่าไร ภาระของเราก็จะยิ่งเยอะขึ้นเท่านั้น มนุษย์จึงโหยหาวิธีที่จะหลุดพ้นจากภาวะที่ย้อนแย้งนี้ แต่มนุษย์ก็ไม่สามารถยกระดับตนเองให้หลุดพ้นจาก paradox ได้เลย

พวกเราเกิดขึ้นมาท่ามกลาง ประวัติศาสตร์อันสลับซับซ้อนที่ปักหลักอยู่ตรงหน้า (Exist history) และสิ่งนี้เองคือการทับถมกันของภาระ (Burden) ยกตัวอย่างเช่นความรู้เชิงวิชาการที่สลับซับซ้อนมากขึ้น มีเพียงสองสิ่งที่สามารถหยุดภาวะย้อนแย้งนี้ได้ คือ 1.ความตาย(Death) 2.ความหวัง (Hope) สองสิ่งนี้เกิดขึ้นเมื่อพระผู้เป็นเจ้าจะมาไถ่เราจาก paradox นี้ และมันต้องอาศัย Faith หรือความศรัทธา เพราะมันไม่มีอะไรพิสูจน์ได้กับการมีอยู่ของพระผู้เป็นเจ้า

แนวคิดที่  Kierkegaard เสนอนั้นเป็นสิ่งที่สุดโต่งขนาดว่า ถ้าเราไปเจอพระเจ้าอยู่ตรงหน้า เราก็ยังเชื่อไม่ได้ เพราะเราพิสูจน์ไม่ได้ แม้แต่เหตุผลเป็นเช่นกัน ลักษณะของพระเจ้าหากคิดผนวกรวมกับ แนวคิดร่วมสมัย (god transform) คุณต้องใช้ชีวิตด้วยความศรัทธา Kierkegaard เสนอว่า การที่เราจะเป็นตัวเองได้ คือคุณต้องยอมรับตัวเองก่อน ยอมรับว่าปัญหามันคืออะไร ถึงจะแก้ไขมันได้ เนื่องจากไม่มีมนุษย์ผู้ใดสมบูรณ์แบบ (weakness / helplessness) Kierkegaard เปรียบเทียบกับการที่ชาวคริสเตียนมีการสารภาพบาป (confession) และการสวดภาวนา (faith) การระลึกถึงพระเจ้าทำให้มนุษย์มีความเป็นตัวของตนเองมากขึ้น แต่สิ่งที่เราต้องพิจารณากันคือนิยามความหมายของความศรัทธาร่วมสมัย ที่จะเกิดขึ้นต่อไป

2 thoughts on “Søren Kierkegaard

Leave a Comment