Longtruk library #2: บทความโดย ภาอรุณ
ทำไมคนเราจึงกลัวความแตกต่าง?
แต่ในทางกลับกันบางครั้งเรากลับไม่ยอมรับความแตกต่างของสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า ‘โลกแห่งชีวิตใบนี้ประกอบไปด้วยความหลากหลายนานัปการ ไม่ว่าจะระหว่างพืช สัตว์ สิ่งของและมนุษย์ รวมไปถึงความแตกต่างในสิ่งมีชีวิตประเภทเดียวกันเอง ไม่มีสิ่งมีชีวิตใดเหมือนกันอย่างร้อยเปอร์เซ็น ทุกอย่างมีจุดหนึ่งหรือบางส่วนที่แตกต่างกันอยู่เสมอ ความแตกต่างที่ประกอบอยู่ในตัวเหล่านั้นทำให้แต่ละชีวิตมีเอกลักษณ์อันมิสามารถเลียนแบบได้ เราทุกคนต่างรับรู้และยอมรับในการมีอยู่ของสิ่งมีชีวิตอื่นที่แตกต่างจากตน แต่ในทางกลับกันบางครั้งเรากลับไม่ยอมรับความแตกต่างของสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า ‘มนุษย์’ ด้วยกันเอง
โดยพื้นฐานแล้วมนุษย์เป็นสัตว์สังคมที่ต้องอยู่ร่วมกับผู้อื่นเพื่อดำรงชีวิตของตนเองให้อยู่รอดและเพื่อปัจจัยต่างๆ ที่สำคัญต่อการใช้ชีวิต เราต้องยอมรับว่า เราเป็นสิ่งมีชีวิตที่กลัวความแตกต่าง เรากลัวไม่เหมือนคนอื่น กลัวไม่ได้รับการยอมรับ และกลัวที่จะต้องอยู่อย่างโดดเดี่ยว เราจึงต้องนำตัวเองเข้าไปในสังคม และปฎิบัติตามวิถีหรือกฏเกณฑ์ของคนหมู่มาก เพื่อให้ได้รับการยอมรับ และบางครั้งเราต้องผลักให้คนที่แตกต่างกับเราให้กลายเป็น ‘คนอื่น’ หรือ ‘ หรือ ‘คนพวกนั้น’
อีกทั้งมนุษย์ยังให้อำนาจกับความคิดและการกระทำของกลุ่มตนเองเป็นใหญ่เพื่อใช้ในการควบคุมและครอบครองคนพวกอื่น เพราะกลัวว่า เมื่อกลุ่มคนที่มองเราว่าแตกต่าง จะไม่คิดว่าตนเองแตกต่าง และตัวของพวกเขาเองจะกลายเป็นคนที่ไม่ได้รับการยอมรับและแตกต่าง ซ้ำยังถูกคนพวกที่ตนเองมองว่าแตกต่างใช้อำนาจกับพวกของตน เช่นกับที่พวกพ้องของตนทำกับคนเหล่านั้น เมื่อนั้นตนเองจะหมดสิ้นอำนาจที่เหนือกว่าและไร้อภิสิทธิ์ทั้งในความคิดและการกระทำ
อาจเพียงเพราะเขามีรูปร่างลักษณะที่ไม่เหมือนเราหรือกลุ่มคนที่รู้จัก อาจเพียงเพราะเขาพูดภาษาที่ต่างออกไป ใช้ชีวิตประจำวันอย่างมีแบบเฉพาะ มีวัฒนนธรรมที่เราอาจรู้สึกว่ายอมรับไม่ได้ หรืออย่างที่ ‘อาจเพียงเพราะเขามีรูปร่างลักษณะที่ไม่เหมือนเราหรือกลุ่มคนที่รู้จัก อาจเพียงเพราะเขาพูดภาษาที่ต่างออกไป ใช้ชีวิตประจำวันอย่างมีแบบเฉพาะ มีวัฒนนธรรมที่เราอาจรู้สึกว่ายอมรับไม่ได้ หรืออย่างที่ ‘อารยชน’ ทั้งหลายเรียกว่า ‘’ ทั้งหลายเรียกว่า ‘ไร้อารยธรรม’ เราจึงคิดว่านั่นเป็นเหตุผลที่เพียงพอแล้วในการปฎิเสธที่จะยอมรับและมองพวกเขา ‘’ เราจึงคิดว่านั่นเป็นเหตุผลที่เพียงพอแล้วในการปฎิเสธที่จะยอมรับและมองพวกเขา ‘เป็นอื่น’ ออกจากพวกของตน
ครั้งไหนกันที่เราใช้สายตาอย่างไร้อคติในการมองสิ่งรอบตัว เราถูกสิ่งที่เรียกว่า กฏหมาย ภาษาเขียน และชีวิตที่รุ่มรวยไปด้วยนวัตกรรม กำหนดหลักเกณฑ์ที่เป็นมาตรฐาน ‘ครั้งไหนกันที่เราใช้สายตาอย่างไร้อคติในการมองสิ่งรอบตัว เราถูกสิ่งที่เรียกว่า กฏหมาย ภาษาเขียน และชีวิตที่รุ่มรวยไปด้วยนวัตกรรม กำหนดหลักเกณฑ์ที่เป็นมาตรฐาน ‘ที่ถูกที่ควร’ มากมาย จนหลงลืมกันไปว่าเราทุกคนมีจุดเริ่มต้นเดียวกัน แม้กระทั่งสิ่งที่เป็นนามธรรม เป็นปัจเจกและมีอิสระเสรีอย่างที่สุดภายในตัวบุคคลอย่าง ‘’ มากมาย จนหลงลืมกันไปว่าเราทุกคนมีจุดเริ่มต้นเดียวกัน แม้กระทั่งสิ่งที่เป็นนามธรรม เป็นปัจเจกและมีอิสระเสรีอย่างที่สุดภายในตัวบุคคลอย่าง ‘ความคิด’ ยังสามารถเป็นเครื่องมือในการกำจัดข้อแตกต่างที่ไม่เหมือนกับตน ไปจนถึงหากใครมีความคิดความเห็นที่ต่างออกไปจากพวกพ้องของตน ก็กลายเป็นบุคคลที่ดูเป็นภัยต่อสังคมไปได้
การจะเรียนรู้ความหลากหลายในศตวรรษแห่งโลกาภิวัฒน์นี้มีหนทางมากมายนัก เส้นทางหนึ่งคือ การเรียนรู้ผ่านเรื่องเล่า นิทาน หรือตำนาน เพราะโดยธรรมชาติเราต่างสนใจสิ่งที่เป็นเรื่องเล่าอันเพลิดเพลินทางสุนทรียะ มากกว่าเนื้อหาที่หนักสมองจนเกินไป ‘การจะเรียนรู้ความหลากหลายในศตวรรษแห่งโลกาภิวัฒน์นี้มีหนทางมากมายนัก เส้นทางหนึ่งคือ การเรียนรู้ผ่านเรื่องเล่า นิทาน หรือตำนาน เพราะโดยธรรมชาติเราต่างสนใจสิ่งที่เป็นเรื่องเล่าอันเพลิดเพลินทางสุนทรียะ มากกว่าเนื้อหาที่หนักสมองจนเกินไป ‘เมียซามูไร’ จึงเป็นหนังสือเล่มหนึ่งที่สามารถนำการทำความเข้าใจผู้คนในเชิงมานุษยวิทยาที่ดูเหมือนเป็นสิ่งที่ซับซ้อน รวบรวมเข้าไว้กับเรื่องเล่าได้อย่างมีจังหวะและวิธีในการนำเสนอที่น่าสนใจ เป็นเรื่องเล่าที่เขียนขึ้นจากนักมานุษยวิทยาที่ไม่ได้ยากต่อการทำความเข้าใจ ผู้อ่านสามารถมีประสบการณ์ ร่วมขบคิดหรือเข้าถึงประเด็นน่าสนใจที่สอดแทรกอยู่ภายในเรื่องสั้นแต่ละเรื่องได้
บางครั้งการที่เรารู้สึกมีบางสิ่งเหนือกว่า รู้สึกมีอารยธรรมกว่า เพียงเพราะเขาเหล่านั้นมี ‘บางครั้งการที่เรารู้สึกมีบางสิ่งเหนือกว่า รู้สึกมีอารยธรรมกว่า เพียงเพราะเขาเหล่านั้นมี ‘ชีวิต’ ที่เหมือน ‘’ ที่เหมือน ‘ชีวิต’ ของทุก ‘’ ของทุก ‘ชีวิต’ ในตอนแรกเริ่ม หรือแท้จริงแล้วการที่เราจะเรียนรู้การเข้าใจในความแตกต่างอาจแค่เพียงใช้หัวใจที่เปิดกว้างในการมองทุกสิ่งอย่างเสมอภาคและเท่าเทียม
- แล้วเราจะรู้ว่าการทำความเข้าใจชีวิตที่แตกต่างไม่ใช่เรื่องยาก
เรื่องสั้นที่ปรากฎอยู่ภายใน “เมียซามูไร” บางเรื่องเป็นนิทานพื้นบ้าน บางเรื่องเป็นนวนิยายเชิงมานุษยวิทยา และบางเรื่องเป็นเรื่องราวที่นักมานุษยวิทยาได้เข้าไปมีประสบการณ์ในการวิจัยภาคสนามกับคนในหลากหลายพื้นที่วัฒนธรรม ระหว่างทางที่กำลังอ่านหนังสือเล่มนี้ได้นำพาให้ผู้อ่านเดินทาง คิด และย้อนกลับไปตั้งคำถามกับตนเอง หรือย้อนกลับไปมองสังคมที่เราอยู่ในทุกวันนี้ด้วยมุมมองที่ต่างไปจากเดิม สิ่งที่หนังสือเล่มนี้เล่าไม่ได้จำกัดความคิดว่าสิ่งใดเป็นสิ่งที่ถูกต้อง หรือสมควรที่สุดในความเป็น ‘มนุษย์’ แต่หนังสือเล่มนี้พยายามให้เราเห็นความแตกต่างและความหลากหลายที่มีอยู่อย่างมากมายเหลือเกินของผู้คนที่ต่างวัฒนธรรม และทำให้เราเห็นถึงความคิดและการใช้ชีวิตของมนุษย์ที่เปลี่ยนไปเพื่อให้ตนเองสามารถใช้ชีวิตในสังคมนั้นได้เมื่อมีอิทธิพลอันมากมายเข้ามาปรับเปลี่ยนวิถีพวกเขา ได้เห็นถึงพฤติกรรมและการแสดงออกที่ถูกซ่อนอยู่ในก้นบึ้งของความความคิดและจิตใจ และทำให้ตระหนักถึงการที่เรารับรู้เรื่องราวใดๆ แล้วเราอาจตัดสินไปแล้วว่าสิ่งนั้นไม่สวยงามในความคิดอันศิวิไลซ์ อย่างไรก็ดีเราจงอย่าใช้มาตรฐานของวัฒนธรรมของเราไปตัดสินว่าผู้อื่น ดี หรือ เลว หรือมีความเป็นมนุษย์อันแท้จริงหรือไม่ ดังเช่นวรรคหนึ่งในหนังสือที่ว่า
“เรื่องราวของชาวอิคที่กำลังจะปรากฏแก่สายตาของท่าน อาจทำให้เกิดความรู้สึกตกใจ ท่านอาจคิดว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งที่น่าสะพรึงกลัว น่าขยะแขยง หรือปราศจากเสียซึ่งความเป็นมนุษย์ผู้มีอารยะ คำพิพากษาเหล่านี้เป็นสิ่งธรรมดาสามัญที่เกิดขึ้นอยู่เสมอ เมื่อเรานำเอาตัวเราและวัฒนธรรมของเราไปตัดสินหรือวัดผู้อื่น ประสบการณ์ที่ถ่ายทอดออกมาเป็นตัวอักษรซึ่งท่านจะได้อ่านต่อไป อาจทำให้ท่านย้อนกลับมาพิจารณาตนเองและตั้งคำถาม เพื่อถามตัวท่านเอง มันเป็นส่วนหนึ่งของการแสวงหาและการทำความเข้าใจกับธรรมชาติของมนุษย์ ความพยายามที่จะค้นหาศักยภาพของมนุษยชาติและศักยภาพที่มีอยู่ในตัวของเราทุกคน”
เราจะขอหยิบยกประเด็นที่น่าสนใจสักสองสามประเด็นภายในหนังสือเล่มนี้มาเล่า เพื่อทำความเข้าใจในความแตกต่างที่มีอยู่ เผื่อว่าเราทุกคนอาจสามารถเชื่อมโยงกับสถานการณ์หรือเรื่องราวในปัจจุบันที่กำลังเผชิญอยู่ได้
- เรื่อง ‘เมียซามูไร’
แปลเรียบเรียงจาก “Bride of a Samurai’ ของ อากิ ทานิโน ดัดแปลงมาจากนิทานพื้นบ้านญี่ปุ่นสมัยเอโดะ (ค.ศ.1603-1808) เล่าถึงจารีตหนึ่งที่หญิงชายชาวญี่ปุ่นต้องปฎิบัติคือ การแต่งงาน โดยที่ฝ่ายหญิงไม่มีสิทธิในการเลือกคู่ครองด้วยตนเอง คู่ครองของเธอคือคนที่ครอบครัวเห็นว่าเหมาะสมและสามารถให้ชีวิตที่ดีแก่เธอได้ แต่ถ้าสิ่งที่เธอได้รับกลับมาไม่ใช่ชีวิตที่ดีล่ะ จะมีใครรับผิดชอบชีวิตที่เหลือต่อไปของเธอบ้าง – ผู้ชาย คือ ช้างเท้าหน้าเสมอ ผู้หญิงถูกสอนให้ปฎิบัติอย่าง ‘ ดัดแปลงมาจากนิทานพื้นบ้านญี่ปุ่นสมัยเอโดะ (ค.ศ.1603-1808) เล่าถึงจารีตหนึ่งที่หญิงชายชาวญี่ปุ่นต้องปฎิบัติคือ การแต่งงาน โดยที่ฝ่ายหญิงไม่มีสิทธิในการเลือกคู่ครองด้วยตนเอง คู่ครองของเธอคือคนที่ครอบครัวเห็นว่าเหมาะสมและสามารถให้ชีวิตที่ดีแก่เธอได้ แต่ถ้าสิ่งที่เธอได้รับกลับมาไม่ใช่ชีวิตที่ดีล่ะ จะมีใครรับผิดชอบชีวิตที่เหลือต่อไปของเธอบ้าง – ผู้ชาย คือ ช้างเท้าหน้าเสมอ ผู้หญิงถูกสอนให้ปฎิบัติอย่าง ‘ไม่แสดงออกถึงความต้องการทางอารมณ์ ความคิด ความรู้สึก’ ไม่ว่าจะในเรื่องใดก็ตามก็ต้องรู้สึก ‘’ ไม่ว่าจะในเรื่องใดก็ตามก็ต้องรู้สึก ‘เจี๋ยมเจี้ยม’ อยู่เสมอ และรับคำสั่งจากผู้เป็นสามีเท่านั้น มิหนำซ้ำผู้เป็นสามีซึ่งรับรู้ว่าตนอำนาจเหนือกว่าก็ปฏิบัติกับภรรยาอย่างเจ็บช้ำน้ำใจทั้งในคำพูดและการกระทำ แม้แต่กระทั่งการแสดงออกในเรื่องความรัก ก็ยังต้องมีข้ออ้างในการกระทำอยู่เสมอ และไม่สนใจแม้กระทั่งความรู้สึกที่อีกฝ่ายต้องการ และเมื่อถึงจุดหนึ่งที่ภรรยาไม่อาจทนอยู่กับความรักอันแห้งแล้งนี้ พร้อมยังเต็มไปด้วยการทำร้ายอย่างเมินเฉย เธอจึงหารักอื่นที่เติมเต็มให้เธอได้ และเมื่อสามีรู้เข้าก็เหมือนถูกทำลายเกียรติของตน จึงต่อสู้กับชายที่เป็นชู้รักของภรรยาซึ่งเป็นลูกศิษย์ของตนเองจนชายผู้นั้นถึงแก่ชีวิต แต่ทว่าเบื้องหลังชะตากรรมของสามีผู้หยิ่งผยองในอำนาจและความสามารถของตน กลับได้รู้ความจริงภายหลังว่าลูกศิษย์ก็สามารถฆ่าตนได้ก่อนเสียอีกหากเขาจะกระทำ แต่ด้วยความที่ลูกศิษย์รู้สึกผิดและเคารพในตัวอาจารย์ จึงไม่ฆ่าอาจารย์ของตนและยอมเป็นผู้ตาย ด้วยเหตุนี้ยิ่งทำให้สามีรู้สึกอับอาย พ่ายแพ้ เสียเกียรติยศและศักดิ์ศรี และเขาจะไม่ยอมรับความรู้สึกเหล่านี้ไว้ เขาจึงใช้อำนาจของตนในการกดขี่ภรรยาและกดผู้อื่นเพื่อลบความอับอายของตน เพื่อพิสูจน์ให้ผู้อื่นเห็นว่าเขาเป็นผู้ที่แข็งแกร่งเหนือผู้อื่น ศักดิ์ศรีที่ค้ำคอนั้นมีมากเกินกว่าความเห็นใจในฐานะเพื่อนมนุษย์
การที่ภรรยามีชู้ หากยึดตามศีลธรรมที่ผู้คนเห็นว่าดีงามอาจไม่ถูกต้องตามขนบประเพณีนัก แต่เรื่องทั้งหมดอาจไม่บานปลายหากผู้เป็นสามีมีความเห็นอกเห็นใจ ปฎิบัติอย่างเท่าเทียม มอบความรักและรับฟังความเห็นจากผู้ร่วมชีวิตของตน แต่ความยุติธรรมนี้ไม่เกิดขึ้น เนื่องจากความรู้สึกเหนือกว่า อำนาจและศักดิ์ศรีอย่างสูงยิ่งได้ลดความรักในเพื่อนมนุษย์คนหนึ่งไปอย่างน่าเศร้า ซึ่งสิ่งนี้ไม่เพียงอยู่ในขอบเขตของสามีภรรยาหรือครอบครัวเท่านั้น แต่ยังอยู่ในพื้นที่ที่กว้างไปกว่านั้น กล่าวคือ อำนาจที่สูงส่ง ความเหนือกว่าในการครอบครอง การควบคุม การตัดสินผู้อื่น หรือสิทธิพิเศษในการออกคำสั่งไม่ควรอยู่ในมือใครคนใดหรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง หากผู้ที่มีนำไปปฏิบัติในทางที่ไม่เหมาะสม หรือใช้ในการทำร้ายเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน เราจะพูดได้อย่างไรว่า มนุษย์เป็นสัตว์สังคม เป็นผู้มีจิตสำนึกรู้ผิดชอบชั่วดี หรือมีความรักให้กับผู้อื่นในฐานะเพื่อนมนุษย์อย่างลึกซึ้ง…
อีกประเด็นหนึ่ง แม้สังคมในปัจจุบันของเราได้ให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับความเท่าเทียมทางเพศ แต่ในหลายวัฒนธรรม เรื่องเพศยังไม่ใช่เรื่องที่ถูกมองอย่างเท่าเทียม ผู้หญิงยังคงต้องมีแบบแผนตามเรื่องที่ได้เล่าไป ยังคงมีชีวิตเป็นช้างเท้าหลัง แม้แต่ในสังคมที่เรื่องความเท่าเทียมทางเพศได้รับการพูดถึงอย่างแพร่หลาย แต่ความไม่เท่าเทียมก็ยังเห็นได้อยู่บ่อยครั้งในคำพูดและการปฎิบัติของคน บางครั้งอยู่ในการแสดงความคิดเห็นต่อเหตุการณ์ การ bully หรือบางครั้งก็มาอยู่ในลักษณะ ‘อีกประเด็นหนึ่ง แม้สังคมในปัจจุบันของเราได้ให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับความเท่าเทียมทางเพศ แต่ในหลายวัฒนธรรม เรื่องเพศยังไม่ใช่เรื่องที่ถูกมองอย่างเท่าเทียม ผู้หญิงยังคงต้องมีแบบแผนตามเรื่องที่ได้เล่าไป ยังคงมีชีวิตเป็นช้างเท้าหลัง แม้แต่ในสังคมที่เรื่องความเท่าเทียมทางเพศได้รับการพูดถึงอย่างแพร่หลาย แต่ความไม่เท่าเทียมก็ยังเห็นได้อยู่บ่อยครั้งในคำพูดและการปฎิบัติของคน บางครั้งอยู่ในการแสดงความคิดเห็นต่อเหตุการณ์ การ bully หรือบางครั้งก็มาอยู่ในลักษณะ ‘ทีเล่นทีจริง’ หรือ ‘’ หรือ ‘พูดกันขำๆ’ หากวันนี้เราเป็นผู้ที่รับรู้และเข้าใจในความสำคัญของความเสมอภาคแล้วนั้น สิ่งหนึ่งที่เราต้องตระหนักและระมัดระวังอยู่เสมอในการใช้คำพูดหรือการแสดงออกต่อผู้อื่นคือ อย่าให้คำพูดและการกระทำของเราไปทำร้ายหรือกดขี่ข่มเหงใครทั้งทางตรงหรือทางอ้อมอย่างที่รู้สึกว่าทำไปโดย ‘’ หากวันนี้เราเป็นผู้ที่รับรู้และเข้าใจในความสำคัญของความเสมอภาคแล้วนั้น สิ่งหนึ่งที่เราต้องตระหนักและระมัดระวังอยู่เสมอในการใช้คำพูดหรือการแสดงออกต่อผู้อื่นคือ อย่าให้คำพูดและการกระทำของเราไปทำร้ายหรือกดขี่ข่มเหงใครทั้งทางตรงหรือทางอ้อมอย่างที่รู้สึกว่าทำไปโดย ‘ไม่รู้ตัว’
อีกเรื่องที่ขอหยิบมาเล่าถึงประเด็น ความแตกต่างของผู้คนทางวัฒนธรรม การมีอยู่ การเผชิญหน้าความเปลี่ยนแปลง ปรับตัว ทำความเข้าใจและยอมรับ เป็นเรื่องที่ตัดตอนและเรียบเรียงจาก “The Mountain People” ของ Collin Turnbull นักมานุษยวิทยาชาวอังกฤษ
- เรื่อง ‘คนภูเขา’
ในบทความนี้ผู้เขียนได้บรรยายประสบการณ์จากการเข้าไปทำวิจัยภาคสนามกับในบทความนี้ผู้เขียนได้บรรยายประสบการณ์จากการเข้าไปทำวิจัยภาคสนามกับชาวอิค (Ik) ในยูกันดา เขาพบกับความอดอยาก แร้นแค้น และการเปลี่ยนแปลงทางสังคมวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว จนมนุษย์กำลังจะสูญเสียวิถีชีวิตและความเป็นมนุษย์ของตนไป
ช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง รัฐบาลยูกันดาสนับสนุนให้ชาวอิคตั้งถิ่นฐานอยู่อย่างเป็นหลักแหล่ง จากที่แต่ก่อนเป็นชาวอพยพเร่ร่อน ยังชีพด้วยการล่าสัตว์หาของป่า แต่หลังจากที่ถูกจำกัดพื้นที่ หุบเขาคีเดโป เดิมที่เคยเป็นแหล่งอาหารสำคัญถูกสถาปนาเป็นป่าสงวนแห่งชาติ ชาวอิคจึงไม่สามารถล่าสัตว์หรือหาของป่าบริเวณนี้ได้ต่อไป สาเหตุนี้สั่นคลอนระบบ ‘ช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง รัฐบาลยูกันดาสนับสนุนให้ชาวอิคตั้งถิ่นฐานอยู่อย่างเป็นหลักแหล่ง จากที่แต่ก่อนเป็นชาวอพยพเร่ร่อน ยังชีพด้วยการล่าสัตว์หาของป่า แต่หลังจากที่ถูกจำกัดพื้นที่ หุบเขาคีเดโป เดิมที่เคยเป็นแหล่งอาหารสำคัญถูกสถาปนาเป็นป่าสงวนแห่งชาติ ชาวอิคจึงไม่สามารถล่าสัตว์หรือหาของป่าบริเวณนี้ได้ต่อไป สาเหตุนี้สั่นคลอนระบบ ‘ครอบครัว’ เป็นอย่างมาก เดิมพื้นฐาน ’ เป็นอย่างมาก เดิมพื้นฐาน มโนคติ (concept) ของครอบครัวคือการพึ่งพาอาศัย คอยดูแลใส่ใจความทุกข์ร้อนกันและกัน และคนในกลุ่มก็เป็นเสมือนเครือญาติ ชาวอิคก็เคยมีลักษณะครอบครัวเช่นนี้ แต่เมื่อพวกเขาต้องถูกจำกัดอาณาบริเวณในการหาอาหาร การเปลี่ยนแปลงนี้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อวิถีชีวิต และคำว่าครอบครัวก็สูญเสียความหมายดั้งเดิมไป
สำหรับชาวอิค อาหารเป็นสิ่งที่หายากยิ่งนัก ผู้คนจำนวนมากตายเพราะความอดอยาก หิวโหย แต่ละคนต้องหาอาหารมาเพื่อตนเองไม่มีการแบ่งปันให้ใครแม้แต่คนในครอบครัว เด็กเล็กถูกไล่ออกจากบ้านไปใช้ชีวิตด้วยตนเองตั้งแต่อายุสามขวบ หญิงชายชราผู้แก่เฒ่าก็ต้องออกไปหาอาหาร แม้จะเจ็บป่วยก็จะไม่มีคนหนุ่มสาวหรือลูกของตนดูแล ไม่มีความรักที่ปราศจากผลประโยชน์ในดินแดนแห่งนี้ ชาวอิคแสดงให้เห็นว่า ครอบครัว มิได้เป็นหน่วยพื้นฐานของสังคมดังที่คนสมัยใหม่เชื่อมั่น เมื่อชาวอิคเผชิญหน้าอยู่ในวิกฤตการณ์ของการเอาชีวิตรอด ครอบครัวจึงเป็นสถาบันที่ล่มสลาย แต่สิ่งที่ยังดำรงอยู่คือเผ่าพันธุ์
สังคมสมัยใหม่เชื่อว่า ความรักที่เรามีต่อเพื่อนมนุษย์ เป็นสิ่งสำคัญในการเอาตัวรอด แต่ชาวอิคนั้นเห็นต่างอย่างสิ้นเชิง อาจกล่าวได้ว่า พวกเขาปราศจากความรัก สิ่งที่ทุกคนเทิดทูนหาใช่ความรักหรือศีลธรรมที่เราเชื่อว่าทุกคนพึงมีนั้นดีงาม แต่เป็นอาหารที่เป็นมาตรฐานในการวัดความถูกต้องผิดชอบชั่วดี ผลประโยชน์เรื่องปากท้องคือสิ่งที่สำคัญมากที่สุด การร่วมแรงร่วมใจหรือแลกเปลี่ยนสิ่งใดระหว่างชาวบ้านนั่นต้องเชื่อมโยงกับผลประโยชน์ส่วนตัว ชาวอิคได้ละทิ้งข้ออ้างทั้งปวงในการแสวงหาผลประโยชน์ ไม่มีข้ออ้างแบบที่ว่า ทำเพื่อประโยชน์ส่วนรวม
อีกทั้งในสังคมสมัยใหม่ได้ให้ความสำคัญกับความเชื่อทางศาสนา กฎหมาย และการจัดระเบียบสังคมในการบังคับให้ทุกคนปฎิบัติตาม แต่ชาวอิคปราศจากข้อบังคับเหล่านี้อย่างสิ้นเชิง ดูเหมือนเขายอมรับธาตุแท้แห่งการเป็นมนุษย์ที่มีความเห็นแก่ตัว และมองว่า ‘อีกทั้งในสังคมสมัยใหม่ได้ให้ความสำคัญกับความเชื่อทางศาสนา กฎหมาย และการจัดระเบียบสังคมในการบังคับให้ทุกคนปฎิบัติตาม แต่ชาวอิคปราศจากข้อบังคับเหล่านี้อย่างสิ้นเชิง ดูเหมือนเขายอมรับธาตุแท้แห่งการเป็นมนุษย์ที่มีความเห็นแก่ตัว และมองว่า ‘ความอยู่รอด’ เป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน ทุกคนยอมรับและเข้าใจตรงกันไม่มีการฟ้องร้องและกล่าวโทษกัน ระบบการใช้ชีวิตของชาวอิคได้ลบล้างคำว่า “’ เป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน ทุกคนยอมรับและเข้าใจตรงกันไม่มีการฟ้องร้องและกล่าวโทษกัน ระบบการใช้ชีวิตของชาวอิคได้ลบล้างคำว่า “มนุษยธรรม” เพราะมันไม่ได้ทำให้พวกเขามีชีวิตอยู่รอดได้ ค่านิยมที่เราเทิดทูนในความรักและความเป็นสังคมแห่งการพึ่งพามิได้เป็นพื้นฐานของมนุษยชาติ ยิ่งเมื่อมนุษย์ต้องเอาตัวรอดเพียงลำพัง ระบบการเอาตัวรอดถูกนำมาแทนที่สังคม ไม่มีอารมณ์และความรู้สึกเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่สุดท้ายการมีชีวิตรอดของคนก็ยังอยู่ในระดับที่ค่อนข้างต่ำ เพราะมี ‘” เพราะมันไม่ได้ทำให้พวกเขามีชีวิตอยู่รอดได้ ค่านิยมที่เราเทิดทูนในความรักและความเป็นสังคมแห่งการพึ่งพามิได้เป็นพื้นฐานของมนุษยชาติ ยิ่งเมื่อมนุษย์ต้องเอาตัวรอดเพียงลำพัง ระบบการเอาตัวรอดถูกนำมาแทนที่สังคม ไม่มีอารมณ์และความรู้สึกเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่สุดท้ายการมีชีวิตรอดของคนก็ยังอยู่ในระดับที่ค่อนข้างต่ำ เพราะมี ‘การแข่งขัน’ ระหว่างบุคคลที่สูงมาก
เมื่อกลับมามองยังโลกสมัยใหม่ของเรา กำลังเต็มไปด้วยเทคโนโลยีที่ผลิตทุกอย่างได้ตามใจนึก แต่สังคมก็ยังเต็มไปด้วยการแข่งขันเพื่อเอาตัวรอดเช่นกัน แม้ว่าความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีจะล้ำเพียงใด แต่ความหิวโหย อดอยากก็ยังปรากฎให้เห็นอยู่ทุกมุมเมือง ความเจริญงอกงามทางปัญญาและเพียบพร้อมไปด้วยศีลธรรมที่เรามีอยู่นั้น เทคโนโลยีหรือความรู้สมควรถูกนำมาใช้ในการขจัดปัญหาและการแข่งขันเพื่อเป็นเมื่อกลับมามองยังโลกสมัยใหม่ของเรา กำลังเต็มไปด้วยเทคโนโลยีที่ผลิตทุกอย่างได้ตามใจนึก แต่สังคมก็ยังเต็มไปด้วยการแข่งขันเพื่อเอาตัวรอดเช่นกัน แม้ว่าความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีจะล้ำเพียงใด แต่ความหิวโหย อดอยากก็ยังปรากฎให้เห็นอยู่ทุกมุมเมือง ความเจริญงอกงามทางปัญญาและเพียบพร้อมไปด้วยศีลธรรมที่เรามีอยู่นั้น เทคโนโลยีหรือความรู้สมควรถูกนำมาใช้ในการขจัดปัญหาและการแข่งขันเพื่อเป็นหลักประกันต่อความอยู่รอดของมนุษย์ทุกคน แต่ทุกวันนี้โลกสมัยใหม่ที่มีพื้นฐานของการพึ่งพาอาศัยและการช่วยเหลือซึ่งกันและกันค่อยๆ สึกกร่อนลง สังคมมิได้ปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีแม้เราจะทุ่มเทอย่างบ้าคลั่งให้กับความเจริญก้าวหน้า นวัตกรรมต่างๆ เริ่มเกิดขึ้นมาเพื่อทำลายมนุษย์ด้วยกัน และเริ่มเห็นสายตาที่หวาดระแวงต่อการเป็นภัยของผู้อื่นที่ต่างวัฒนธรรม มนุษย์โลกสมัยใหม่กลายเป็นปัจเจกบุคคลนิยม
สุดท้ายนี้ชาวอิคได้จ่ายราคาสำหรับเอาชีวิตรอดด้วยมนุษยธรรมเป็นค่าตอบแทน เราก็กำลังจ่ายสิ่งนี้ไปทีละน้อยเช่นเดียวกันกับชาวอิค แต่เราต่างกลับชาวอิคในแง่ที่เรามีเทคโนโลยี มีทางเลือกกว่ามากมายที่จะหลีกเลี่ยงระบบสังคมแบบที่ชาวอิคเผชิญ การเปลี่ยนแปลงทุกสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในตอนนี้แม้อาจไม่เอื้ออำนวยต่อผลประโยชน์กับคนในรุ่นนี้ สุดท้ายนี้ชาวอิคได้จ่ายราคาสำหรับเอาชีวิตรอดด้วยมนุษยธรรมเป็นค่าตอบแทน เราก็กำลังจ่ายสิ่งนี้ไปทีละน้อยเช่นเดียวกันกับชาวอิค แต่เราต่างกลับชาวอิคในแง่ที่เรามีเทคโนโลยี มีทางเลือกกว่ามากมายที่จะหลีกเลี่ยงระบบสังคมแบบที่ชาวอิคเผชิญ การเปลี่ยนแปลงทุกสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในตอนนี้แม้อาจไม่เอื้ออำนวยต่อผลประโยชน์กับคนในรุ่นนี้ แต่อย่างน้อยที่สุดมันก็ควรเป็นหลักประกันสำหรับอนาคตของคนรุ่นต่อไป ชาวอิคได้ทำให้เราเรียนรู้ว่า ค่านิยมของเรามิได้เป็นส่วนหนึ่งของมนุษยชาติ หากแต่เป็นเพียงรูปแบบหนึ่งของการเอาตัวรอด ที่เราเรียกว่า สังคม ชาวอิคละทิ้งสิ่งที่เราเชื่อว่าเป็นความดี ความงาม ความจริงไปทั้งหมดทั้งมวลเพื่อการเอาชีวิตรอด พวกเขาดำรงอยู่อย่างไร้อารมณ์ความรู้สึกและมนุษยธรรม แต่เราผู้มีทุกอย่างพร้อมในการใช้ชีวิตกลับกำลังก่อสร้างปัญหามากมายให้สังคมเพื่อที่จะให้ตัวเราหรือกลุ่มเราเล็กๆ นั้นอยู่รอด แทนที่จะเป็นการหาหนทางที่จะทำให้ ‘ ชาวอิคละทิ้งสิ่งที่เราเชื่อว่าเป็นความดี ความงาม ความจริงไปทั้งหมดทั้งมวลเพื่อการเอาชีวิตรอด พวกเขาดำรงอยู่อย่างไร้อารมณ์ความรู้สึกและมนุษยธรรม แต่เราผู้มีทุกอย่างพร้อมในการใช้ชีวิตกลับกำลังก่อสร้างปัญหามากมายให้สังคมเพื่อที่จะให้ตัวเราหรือกลุ่มเราเล็กๆ นั้นอยู่รอด แทนที่จะเป็นการหาหนทางที่จะทำให้ ‘เราทุกคน’ อยู่รอดได้ เพราะเรามีทั้ง ’ อยู่รอดได้ เพราะเรามีทั้ง เวลาและศักยภาพ เป็นเครื่องมือที่จะนำพาเราไปสู่ความรู้สึกและจิตอันเป็นธรรมชาติที่แท้จริงของมนุษย์ปุถุชน
LONGTRUK: LIBRARY
หนังสือ : เมียซามูไร รวมเรื่องสั้นทางมานุษยวิทยา แปลและเรียบเรียง : ยศ สันตสมบัติ ISBN : 974-7667-05-3 พิมพ์ครั้งแรก 2531 สำนักพิมพ์คบไฟ
อ้างอิงเรื่องและภาพ
· ยศ สันตสมบัติ. เมียซามูไร รวมเรื่องสั้นทางมนุษยวิทยา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพ: คบไฟ,2538. · https://familycareuganda.com/2010/11/the-ik-2/ · https://www.amazon.com/Mountain-People-Colin-M-Turnbull/dp/0671640984