“ถึงบ้านเเล้วบอกด้วยนะ” : จากประโยคบอกเล่าสู่ปัญหาภัยคุกคามทางเพศในพื้นที่สาธารณะ

“ถึงบ้านเเล้วบอกด้วยนะ”

 

จากประโยคบอกเล่าที่ผู้เขียน กลุ่มเพื่อน คนรอบตัวหรือเเม้เเต่กับบุคลอื่น ๆ ที่ผู้เขียนไม่ได้รู้จัก หากเเต่เป็นประโยคในบทสนทนาระหว่างเพื่อน ที่ผู้เขียนมักจะได้ยินอยู่เป็นประจำ 

 

โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่นเพศหญิง เพียงประโยคสั้นๆ ไม่กี่คำ ทำให้ผู้เขียนได้กลับมาย้อนทบทวนถึงที่มาที่ไปว่าทำไมจึงต้องบอกกล่าวประโยคนี้ขึ้น หากตัดประเด็นในเรื่องของความปลอดภัยจากอุบัติเหตุเเล้ว ภายใต้ประโยคนี้มีประเด็นอะไรที่เเอบเเฝงอยู่อีกบ้าง

 

ยกตัวอย่างในกรณีของผู้เขียนที่ไม่ได้มีรถส่วนตัวเเละมีความจำเป็นต้องเดินทางในพื้นที่สาธารณะเเละจำเป็นต้องใช้ระบบขนส่งสาธารณะอยู่เสมอ ปฏิเสธไม่ได้ว่านอกเหนือจากประเด็นในเรื่องของความกังวลเกี่ยวกับอุบัติเหตุหรือการปล้นชิงทรัพย์ตามที่ได้กล่าวไปก่อนหน้าเเล้ว อีกประเด็นที่ผู้เขียนเเละคิดว่าน่าจะเป็นเรื่องที่หลายๆ คนให้ความสำคัญเเละเฝ้าระวังคือ ‘ปัญหาการคุกคามทางเพศ (Sexual Harassment)’ ที่เกิดขึ้นในพื้นที่สาธารณะหรือระหว่างการใช้บริการระบบขนส่งสาธารณะ

 

ที่มาภาพ : Sexual Shakedown: The Sexual Harassment on the Job, เข้าถึงเมื่อ 16 มกราคม 2565, เข้าถึงได้จาก https://archive.org/details/sexualshakedowns00far_x3q

มาทำความรู้จัก Sexual Harassment กันอีกครั้ง

 

โดยความหมายของคำๆ นี้ไม่ได้จำกัดเพียงเเค่การข่มขืน ลวนลาม หรือการสัมผัสทางร่างกายเเต่เพียงเท่านั้น เเต่ยังรวมถึงการเเทะโลมทางสายตา คำพูดที่ส่อไปในเชิงคุกคามหรือลักษณะท่าทางที่มีเจตนาไปถึงเรื่องเพศ โดยที่อีกฝ่ายไม่ได้ยินยอมหรือเต็มใจ หรืออย่างที่ ลิน ฟาร์ลีย์ (Lin Farley) ผู้ที่ริเริ่มนำคำว่า การคุกคามทางเพศ (Sexual Harassment) มาใช้เป็นคนแรก ในหนังสือชื่อ “Sexual Shakedown: The Sexual Harassment on the Job” เมื่อปี ค.ศ. 1978 ท่ีให้ความหมายของคำๆ นี้ได้อย่างชัดเจนว่า ผู้ชายใช้ความเป็นชายในการกดขี่ทางเพศเเละสร้างคุณค่าขึ้นมาใหม่ในความเป็นหญิง ซึ่งลดทอนลงเหลือเเค่ให้เป็นเพียงวัตถุทางเพศ (Sexobject) ที่ตอบสนองต่ออารมณ์เเละความต้องการของเพศชายเท่านั้น

 

ที่มาภาพ (1) : Metoo, เข้าถึงเมื่อ 16 มกราคม 2565, เข้าถึงได้จาก https://www.vox.com/identities/2019/10/4/20852639/me-too-movement-sexual-harassment-law-2019

ที่มาภาพ (1) : Metoo, เข้าถึงเมื่อ 16 มกราคม 2565, เข้าถึงได้จาก data:image/jpeg;base64

ปัญหาการคุกคามทางเพศ ไม่ได้เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นใหม่เเต่อย่างใด รวมถึงไม่ได้เกิดขึ้นเพียงเเค่ในสังคมไทยเท่านั้น หากเเต่เป็นปัญหาที่กระจายวงกว้างเเทบจะทุกสังคมรวมถึงในต่างประเทศก็ด้วย สังเกตได้จากปรากฏการณ์การเคลื่อนไหวทางสังคม โดยเริ่มจากนักกิจกรรมเเละนักจัดการชุมชน ‘ทารานา เบิร์ก’ (Tarana Burke) ได้สร้างวลี ‘MeToo’ ขึ้นมาโดยการสร้างความรับรู้ร่วมกันในกลุ่มผู้หญิงผิวสีที่ถูกคุกคามเเละถูกทารุณกรรมทางเพศ โดยประโยคนี้เกิดขึ้นหลังจากที่มีผู้หญิงผิวสีได้เล่าเรื่องที่ตนถูกทารุณกรรรมทางเพศเเละเธอจึงได้ตอบไปว่า ‘Me too’ ซึ่งหมายถึง ฉันก็เหมือนกัน

ที่มาภาพ : Alyssa Milano metoo, เข้าถึงเมื่อ 16 มกราคม 2565, เข้าถึงได้จาก https://www.whsv.com/content/news/Me-Too-Alyssa-Milano-elevates-Harvey-Weinstein-conversation-451297233.html

 

หรืออย่างในกรณีของนักเเสดงหญิงชาวอเมริกัน ‘อลิสซา มิลาโน’ (Alyssa Milano) ในช่วงปี ค.ศ. 2017 ที่เธอได้มำการทวีตข้อความลงในทวิตเตอร์ ว่า “หากคุณเคยถูกล่วงละเมิดทางเพศให้เขียนคำว่า #MeToo เพื่อตอบรับทวิตนี้” กระเเสของ Metoo ได้กลับมาอีกครั้งจากข้อความดังกล่าว เเละทำให้เห็นถึงความเเพร่หลายของปัญหานี้ว่ามันเกิดขึ้นทุกหนทุกเเห่ง ซึ่งจากกรณีนี้ทำให้สังคมทราบมากขึ้นมามีคนจำนวนไม่น้อยที่ตกเป็นเหยื่อจากปัญหาการถูกคุกคามทางเพศ

 

ย้อนกลับมาถึงปัญหาภัยคุกคามทางเพศในสังคมไทยอีกครั้ง ผู้เขียนหยิบยกประเด็นการคุกคามทางเพศที่เกิดขึ้นในพื้นที่สาธารณะรวมถึงขณะใช้บริการขนส่งสาธารณะ เนื่องด้วยโดยส่วนมากผู้คนมักจะเข้าใจว่า การคุกคามทางเพศส่วนมากจะเกิดในที่ลับหรือในพื้นที่ปิดมากกว่าทั้งที่กรณีของการถูกคุกคามในพื้นที่สาธารณะนั้นมีปริมาณที่ค่อนข้างเยอะไม่ต่างกัน จากกรณีศึกษาปัญหาเเละมีการเก็บข้อมูลทางสถิติ ของคณะสาธารณสุขศาสการสำรวจผู้ใช้บริการขนส่งสาธารณะเฉพาะในพื้นที่ กรุงเทพมหานคร ปี พ.ศ. 2560 จำนวน 1,654 คน ซึ่งจากเเบบสอบถามได้ระบุว่า มากถึงร้อยละ 45 ที่เคยเจอเหตุการณ์การคุกคามทางเพศ ขณะใช้บริการขนส่งสาธารณะ เเละร้อยละ 38 จากเพศทางเลือกอื่นๆเคยพบเห็นเหตุการณ์การถูกคุกคามทางเพศ รวมถึงผู้ชายอีกร้อยละ 15 ท่ีเคยพบเห็นเหตุการณ์การ คุกคามทางเพศเช่นเดียวกัน 

ดังนั้นปัญหาการคุกคามทางเพศในพื้นที่สาธารณะนั้นเป็นสิ่งที่ควรให้ความสำคัญไม่ต่างกัน

 

หากขุดรากลึกไปถึงต้นตอของปัญหาเเล้วจะพบว่า ต้นเหตุที่เเท้จริงของปัญหาคือ สังคมไทยมีลักษณะของระบบชายเป็นใหญ่ นำมาซึ่งโครงสร้างที่สร้างความไม่เสมอภาคทางเพศเเละเเนวคิดนี้ได้ถ่ายทอดสืบต่อกันมาตั้งเเต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ผ่านสื่อต่างๆ ไปจนถึงกระบวนการขัดเกลาทางความคิดที่ทำให้รากความคิดของระบบนี้ยิ่งฝังรากลึกจนเกิดเป็นปัญหาการคุกคามทางเพศที่ผู้เขียนได้หยิบยกมาเป็นประเด็นในครั้งนี้

จากมายาคติของชายเป็นใหญ่ได้สร้างกรอบคิดบทบาทของเพศหญิงที่เป็นผู้มีร่างกายอ่อนเเอเเละไร้พละกำลังที่จะเท่ากับผู้ชาย ซึ่งทำให้ผู้หญิงตกเป็นเหยื่อได้ง่าย สอดคล้องกับเเนวคิดของ Lawrence CohenและMarcus Felson ที่ลักษณะของบุคคลที่ตกเป็นเหยื่อ จะมีลักษณะทางกายที่เปราะบางเเละอ่อนเเอ เช่น เด็ก ผู้หญิงหรือคนชรา จึงทำให้ส่วนใหญ่ผู้หญิงหรือผู้ที่มีลักษณะทางกายภาพที่บอบบาง หรือมีความเป็นหญิง มีโอกาสที่จะตกเป็นเหยื่อได้มากกว่า เเม้ว่าระบบเเนวคิดชายเป็นใหญ่จะเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาการคุกคามทางเพศในพื้นที่สาธารณะ หากเเต่ก็ไม่ใช่สาเหตุทั้งหมดที่ทำให้เกิดปัญหาดังกล่าวอีกหนึ่งปัจจัยที่มีส่วนสำคัญคือ สภาพเเวดล้อมที่เอื้ออำนวยให้เกิดโอกาสในการคุกคามทางเพศ รวมถึงการเพิกเฉยของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

 

คำว่า พื้นที่สาธารณะ (Public Space) คือ อาณาเขตหรือบริเวณที่บุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงเเละสัญจรไปมาได้โดยอิสระ ภายใต้ระเบียบที่วางไว้ โดยไม่ได้เป็นพื้นที่ของบุคคลเพียงคนใดคนหนึ่ง ซึ่งระบบขนส่งสาธารณะก็เป็นหนึ่งในพื้นที่สารณะเช่นกัน เเละเป็นพื้นที่ที่บุคคลทั่วไปสามารถใช้บริการได้ง่ายเเละทั่วถึง ที่สำคัญคือควรเป็นพื้นที่ที่ควรจะได้รับความปลอดภัย ไม่ปล่อยให้เป็นพื้นที่ที่ก่อให้เกิดอาชญากรรมหรือปัญหาการคุกคามทางเพศขึ้น เเละเพื่อตัดโอกาสให้ผู้กระทำผิดฉวยผลประโยชน์จากช่องโหว่ จากความไม่ใส่ใจเเละเพิกเฉยของผู้ที่ดูเเลเกี่ยวกับพื้นที่ดังกล่าว ซึ่งละเลยเเละทำให้เกิดปัญหาการคุกคามทางเพศขึ้น การเพิกเฉยเเละไม่เเก้ไขปัญหา ซึ่งไม่ต่างจากการสนับสนุนให้ผู้กระทำผิดฉวยโอกาสไปเรื่อยๆ ทั้งนี้ผู้ที่เกี่ยวข้องเเละหน่วยงานของภาครัฐควรสร้างมาตรการป้องกันขึ้นตามสภาพเเวดล้อมของพื้นที่สาธารณะเเต่ละที่ โดยเฉพาะระบบขนส่งสาธารณะในประเทศไทยที่มีความเเออัดค่อนข้างสูง การดูเเลของเจ้าหน้าที่ที่ไม่ครอบคลุมเเละทั่วถึง รวมถึงการเมินเฉยต่อการขอความช่วยเหลือของเหยื่อ เเละเกิดการผลักภาระให้ผู้ถูกกระทำต้องปรับพฤติกรรมของตนเองหรือก็คือต้องดูเเลตัวเอง เพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อเเละต้องอยู่ในสภาวะจำทน เกิดความระเเวดระวังกับปัญหาดังกล่าวว่าเป็นเรืองปกติเเละไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ 

 

 

เเม้ว่าในกรณีตัวอย่างที่ผู้เขียนได้หยิบยกมา หรือรวมถึงเเนวคิดความไม่เสมอภาคทางเพศที่มาจากระบบปิตาธิปไตยไปจนถึงสภาพเเวดล้อมที่อาจมีผลทำให้เกิดปัญหาการคุกคามทางเพศในพื้นที่สาธารณะ ทั้งนี้ทั้งนั้นเเม้โดยส่วนมากผู้ที่ได้รับผลกระทบจะเป็นเพศหญิง หากเเต่ปัญหาการคุกคามทางเพศนั้นมีโอกาสที่จะเกิดขึ้นกับเพศอื่นๆ รวมถึงเพศชายก็เช่นกัน เนื่องด้วยปัญหาการคุกคามทางเพศนั้นไม่ได้อยู่ที่ว่าเหยื่อคือเพศอะไร 

หากเเต่เป็นในเรื่องของการปลูกฝังการขัดเกลาเเนวคิด ค่านิยม บรรทัดฐานในระบบสังคมรวมไปถึงระบบความเชื่อเเละวัฒนธรรมโดยเฉพาะในสังคมไทยในเรื่องของอำนาจเเละความไม่เท่าเทียมกัน ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นตัวสร้างเเละบ่มเพาะปัญหาที่ทำให้เกิดปัญหาการคุกคามทางเพศ การเพิกเฉย การไม่มองว่าเป็นปัญหาเเละผลักภาระความรับผิดชอบไปที่เหยื่อเเทน ทั้งนี้ควรสร้างกลไกที่จะไม่มองว่าปัญหาการคุกคามทางเพศเป็นเรื่องปกติ ควรส่งเสริมให้ช่วยกันดูเเลเเละสอดส่อง เพื่อไม่ให้เกิดความบอบช้ำทั้งทางร่างกายเเละจิตใจไม่ว่าในที่นี้เหยื่อจะเป็นเพศใดก็ตาม

เพื่อไม่เปิดโอกาสให้ผู้กระทำผิดเเละไม่ปล่อยให้เรื่องนี้เป็นปัญหาที่เรื้อรังต่อไป สิ่งสำคัญคือการไม่เพิกเฉยต่อปัญหาดังกล่าวไม่ว่าจะอยู่ในสถานะของเหยื่อที่ได้รับผลกระทบโดยตรงหรือเป็นผู้ที่เห็นเหตุการณ์ก็ตาม เพราะการเพิกเฉยไม่ต่างอะไรกับการที่สนับสนุนปัญหานี้ให้เกิดขึ้นต่อไปเรื่อยๆ เเละหวังว่าผู้อ่านทุกท่านไม่ว่าท่านจะเป็นเพศอะไรก็ตามจะไม่สนับสนุนให้ปัญหานี้ต้องเป็นปัญหาเรื้อรังในสังคมไทยต่อไป

 

Keywords : การคุกคามทางเพศ, ภัยคุกคามทางเพศ , พื้นที่สาธารณะ, การคุกคามทางเพศในระบบขนส่งสาธารณะ, การคุกคามทางเพศในพื้นที่สาธารณะ

ผู้เขียนบทความ : พรรณชญานิษฐ์ วัชรรัตน์

ภาพประกอบ : สิริรัตนา นวลนุ่ม

 

 

อ้างอิง  : https://socadmin.tu.ac.th/uploads/socadmin/file_document/3.1%20ปัญหาความรุนแรงทางเพศ%20บทสะท้อนความไม่เสมอภาคระหว่างเพศ.pdf

 

https://www.google.co.th/url?sa=t&rct=j&q=&esrc=s&source=web&cd=&ved=2ahUKEwiw98jspdn8AhVsVmwGHQZ2D7UQFnoECA4QAQ&url=https%3A%2F%2Fso03.tci-thaijo.org%2Findex.php%2Fpolscilaw_journal%2Farticle%2Fdownload%2F243360%2F164797%2F&usg=AOvVaw3AdsodUEYRePYSzbPkTbzO

 

https://workpointtoday.com/45-ของผู้หญิงไทยถูกคุกคา/

 

http://www.salforest.com/blog/metoo-sexual-harassment-marginalized-workers

 

https://www.bbc.com/thai/thailand-41669340